15 กุมภาพันธ์, 2556








การบ้านครั้งที่ 4 : สื่อการเรียนการสอน
        

           สื่อการเรียนการสอนที่กลุ่มของข้าพเจ้าจัดทำขึ้น มีชื่อว่า สวนสัตว์หรรษา โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น ประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 


      
               กลุ่มของเราจัดทำสื่อที่เป็นคำศัพท์ในหมวดของสัตว์ต่างๆ โดยมีภาพประกอบที่น่ารัก สดใส เพื่อเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก และการเรียนรู้โดยมีภาพประกอบจะทำให้เด็กจดจำคำศัพท์ได้ดี และเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านสังคมศึกษาของเด็ก เราจึงทำสื่อโดยสอดแทรกเรื่องของภูมิศาสตร์เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การจำแนก ประเภทของสัตว์ต่างๆตามถิ่นที่อยู่อีกด้วย

             
              ในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนชนิดนี้ นอกจากจะเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียนแล้ว ยังทำให้นักเรียนสามารถเล่นเกมร่วมกับเพื่อนๆ เพื่อเป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะและได้รับความรู้ในวิชาสังคมศึกษาไปในตัว และเนื่องด้วยสื่อการเรียนการสอนชิ้นนี้เป็นกระดาน ดังนั้นจึงสามารถจัดไว้ภายในห้องเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้ เป็นประโยชน์อีกด้วย

 


 

ความรู้สึกของข้าพเจ้า

จากการที่ได้ทำสื่อชิ้นนี้ แน่นอนว่ากว่าจะสำเร็จได้นั้น ย่อมมีอุปสรรคบ้างบางประการ เช่น อุปกรณ์บางอย่างไม่มี การทำงานไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ เป็นต้น แต่อุปสรรคเหล่านี้สมาชิกในกลุ่มก็สามารถช่วยกันแก้ปัญหาจนงานเสร็จลุล่วงไปด้วยดี ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจในสื่อชิ้นนี้มาก เพราะรายละเอียดทุกอย่างในสื่อเราทำเอง  และสื่อชิ้นนี้ยังทำให้ข้าพเจ้าเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น การวาดรูปสัตว์ต่างๆ เป็นต้น  ฝึกให้เรามีความอดทน เพราะการทำสื่อต้องใช้เวลา อีกทั้งยังเสริมสร้างความสามัคคีในกลุ่มได้เป็นอย่างดี




แช๊ะภาพกับผลงานกันหน่อย ^ ^



27 มกราคม, 2556



สื่อทำมือ VS สื่อเทคโนโลยี






ในการเรียนการสอนไม่ว่าจะในวิชาใดก็ตาม ย่อมมีการใช้สื่อการสอนเสมอ ซึ่งในปัจจุบันสื่อการสอนได้มีหลากหลายรูปแบบ เช่น สื่อการสอนที่เป็นสื่อทำมือ สื่อเทคโนโลยี เพลง วีดีทัศน์ เป็นต้น ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ว่าจะเป็นสื่อทำมือหรือสื่อเทคโนโลยี ต่างก็ส่งผลดีในการเรียนรู้ของนักเรียนเหมือนกัน


            สำหรับสื่อทำมือ เป็นสื่อที่ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านของจริง เกิดการสัมผัส เกิดความสมจริง โดยการเรียนรู้ที่เด็กได้จับต้องสื่อจริงๆ ก็จะทำให้พัฒนาการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ช่วยในเรื่องความจำ เป็นต้น ซึ่งสื่อทำมือนี้อาจทำมาจากวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของครูผู้สอนด้วย โดยข้อดีของสื่อทำมือนี้ ไม่ว่าเราจะไปสอนที่โรงเรียนใดก็ตาม เราก็สามารถใช้สื่อได้ทันที ไม่ต้องกังวลว่าโรงเรียนมีเครื่องฉายสไลด์ มีอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์หรือไม่


            นอกจากสื่อทำมือแล้ว สื่อเทคโนโลยี ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในการเรียนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันจะเห็นว่ารัฐบาลมีนโยบายในการให้แท็บเล็ตกับเด็กชั้น ป.1 และ ม.1 เพื่อเป็นสื่อในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ข้าพเจ้าคิดว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือ การที่ให้แท็บเล็ตกับเด็ก ป.1 ซึ่งเป็นวัยที่ซุกซน อาจรักษาของสิ่งนี้ได้ไม่ดีนัก อีกทั้งวัยนี้เป็นวัยที่ต้องฝึกเขียน การที่มีเทคโนโลยีเข้ามามากเกินไป อาจทำให้เด็กเขียนหนังสือไม่ถูกต้อง และกล้ามเนื้อนิ้วมือไม่ค่อยพัฒนา เพราะใช้นิ้วแท็บเล็ตเพียงอย่างเดียวแทนที่จะฝึกเขียน ส่วนข้อดีก็คือ เทคโนโลยีจะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และเกิดความใฝ่รู้ เพราะเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่อใหม่ๆ บทเรียนต่างๆก็เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิคที่มีรูปภาพประกอบสวยงาม ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเรียนมากขึ้น



            ข้าพเจ้าคิดว่าการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและเนื้อหาก็มีความสำคัญเช่นกัน สื่อการเรียนการสอนมีหลายประเภท หลายชนิด การนำเอามาใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์เต็มที่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนของที่จะต้องพิจารณาตัดสินใจ โดยจะต้องเลือกสื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ว่าจะนำสื่อไปใช้ในด้านใด
           
               
                สื่อการสอน มีความสำคัญต่อผู้เรียนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ กระตุ้นให้นักเรียนสนใจบทเรียนมากยิ่งขึ้นและยังกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นการให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสื่อที่มีความแตกต่างจากบทเรียนทั่วๆไปการเลือกนำสื่อการสอนมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถและความถนัดของครูผู้สอนและจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดกับนักเรียนให้มากที่สุด



ขอขอบคุณรูปประกอบ

http://www.cloudbookclub.com/news5.htm