27 มกราคม, 2556



สื่อทำมือ VS สื่อเทคโนโลยี






ในการเรียนการสอนไม่ว่าจะในวิชาใดก็ตาม ย่อมมีการใช้สื่อการสอนเสมอ ซึ่งในปัจจุบันสื่อการสอนได้มีหลากหลายรูปแบบ เช่น สื่อการสอนที่เป็นสื่อทำมือ สื่อเทคโนโลยี เพลง วีดีทัศน์ เป็นต้น ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ว่าจะเป็นสื่อทำมือหรือสื่อเทคโนโลยี ต่างก็ส่งผลดีในการเรียนรู้ของนักเรียนเหมือนกัน


            สำหรับสื่อทำมือ เป็นสื่อที่ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านของจริง เกิดการสัมผัส เกิดความสมจริง โดยการเรียนรู้ที่เด็กได้จับต้องสื่อจริงๆ ก็จะทำให้พัฒนาการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ช่วยในเรื่องความจำ เป็นต้น ซึ่งสื่อทำมือนี้อาจทำมาจากวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของครูผู้สอนด้วย โดยข้อดีของสื่อทำมือนี้ ไม่ว่าเราจะไปสอนที่โรงเรียนใดก็ตาม เราก็สามารถใช้สื่อได้ทันที ไม่ต้องกังวลว่าโรงเรียนมีเครื่องฉายสไลด์ มีอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์หรือไม่


            นอกจากสื่อทำมือแล้ว สื่อเทคโนโลยี ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในการเรียนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันจะเห็นว่ารัฐบาลมีนโยบายในการให้แท็บเล็ตกับเด็กชั้น ป.1 และ ม.1 เพื่อเป็นสื่อในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ข้าพเจ้าคิดว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย คือ การที่ให้แท็บเล็ตกับเด็ก ป.1 ซึ่งเป็นวัยที่ซุกซน อาจรักษาของสิ่งนี้ได้ไม่ดีนัก อีกทั้งวัยนี้เป็นวัยที่ต้องฝึกเขียน การที่มีเทคโนโลยีเข้ามามากเกินไป อาจทำให้เด็กเขียนหนังสือไม่ถูกต้อง และกล้ามเนื้อนิ้วมือไม่ค่อยพัฒนา เพราะใช้นิ้วแท็บเล็ตเพียงอย่างเดียวแทนที่จะฝึกเขียน ส่วนข้อดีก็คือ เทคโนโลยีจะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และเกิดความใฝ่รู้ เพราะเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่อใหม่ๆ บทเรียนต่างๆก็เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิคที่มีรูปภาพประกอบสวยงาม ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเรียนมากขึ้น



            ข้าพเจ้าคิดว่าการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและเนื้อหาก็มีความสำคัญเช่นกัน สื่อการเรียนการสอนมีหลายประเภท หลายชนิด การนำเอามาใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์เต็มที่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนของที่จะต้องพิจารณาตัดสินใจ โดยจะต้องเลือกสื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ว่าจะนำสื่อไปใช้ในด้านใด
           
               
                สื่อการสอน มีความสำคัญต่อผู้เรียนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ กระตุ้นให้นักเรียนสนใจบทเรียนมากยิ่งขึ้นและยังกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นการให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสื่อที่มีความแตกต่างจากบทเรียนทั่วๆไปการเลือกนำสื่อการสอนมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถและความถนัดของครูผู้สอนและจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดกับนักเรียนให้มากที่สุด



ขอขอบคุณรูปประกอบ

http://www.cloudbookclub.com/news5.htm


การบ้านครั้งที่ 3 : สื่อเทคโนโลยีกับการสอนภาษาอังกฤษ




หลังจากที่ได้รับมอบหมายให้ไปสังเกตการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มของเราก็ตัดสินใจไปที่ โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคนีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" เป็นโรงเรียนที่อยู่ในละแวกพญาไทนี่เอง การเดินทางก็แสนจะสะดวกค่ะ ใช้เวลาแปปเดียวก็ถึงเลย

 





คุณครูตัวอย่างที่เราเลือกไปสังเกตการใช้สื่อ ก็คือ             คุณครู ศิริพร วงศ์ภักดี ซึ่งท่านเป็นถึงหัวหน้ากลุ่มสาระภาษาอังกฤษ เลยทีเดียวค่ะ ตอนแรกเราก็นึกว่าท่านจะดุๆ แต่กลับตรงกันข้ามเลยค่ะ ท่านใจดีมากๆเลย แถมยังให้การต้อนรับและช่วยเหลือพวกเราเป็นอย่างดี 







 กลุ่มของพวกเราเดินทางไปที่โรงเรียน 2 ครั้งด้วยกันค่ะ ครั้งแรกหลังจากที่โทรนัดกับอาจารย์เรียบร้อย (ซึ่งกว่าจะติดต่อกับอาจารย์โดยตรงได้ค่อนข้างลำบากค่ะ) เราก็เดินทางไปโรงเรียนทันที เมื่อไปถึงด้วยความที่อาจารย์เป็นหัวหน้าหมวด งานท่านก็ค่อนข้างเยอะค่ะ ท่านจึงให้เรามานั่งรอที่ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้พวกเราได้มีโอกาสคุยกับอาจารย์ชาวต่างชาติด้วย เป็นกันเองและใจดีมากๆค่ะ อาจารย์ชื่อ Jeremy เขาให้ความคิดเห็นต่อการใช้สื่อของครูว่า เขาเองไม่ค่อยได้ใช้สื่อมากเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะใช้ท่าทาง การแสดงออก น้ำเสียงในการสอน เพื่อดึงดูดความสนใจจากนักเรียน






สื่อที่อาจารย์ศิริพรเลือกใช้คือ การสอนภาษาอังกฤษผ่านเพลง พวกเราได้ไปสังเกตการสอนของอาจารย์ในวันที่สอง ซึ่งคาบนั้นอาจารย์สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4

 





โดยสอนจากเพลง  'Heel The World' และ 'Que Sera Sera' และได้มีการใช้สื่อคือโปรเจ็กเตอร์ประกอบด้วยค่ะ ทั้งนี้อาจารย์ก็ได้แจกใบงานที่เป็นเนื้อเพลง โดยอาจารย์ได้มีว่างคำศัพท์ที่เอาไว้แล้วให้นักเรียนฟังจากเพลงและเติมให้ครบ



บรรยากาศ ในการเรียนเต็มไปด้วยรอยยิ้มและความสนุกสนาน อาจารย์ท่านบอกว่าการที่ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะด้านการฟังจากเพลง เป็นการเรียนภาษาอังกฤษที่มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากการเรียนปกติ ทำให้นักเรียนผ่อนคลายและไม่รู้สึกเบื่อ






สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณคุณครู ศิริพร วงศ์ภักดี มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ ที่เสียสละเวลาแบ่งปันประสบการณ์และเรื่องราวดีๆแก่พวกเรา อีกทั้งยังให้การต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดี จากการไปสังเกตการสอนของอาจารย์ในครั้งนี้ ทำให้เราได้ข้อคิด ประสบกาณ์ดีๆกลับมามากมายทีเดียวค่ะ